Basic Knowledge to Care Hair and Scalp

 

เส้นผมและหนังศีรษะเป็นองค์ประกอบสำคัญของร่างกายที่ไม่เพียงแต่มีบทบาทด้านความสวยงาม แต่ยังสะท้อนถึงสุขภาพโดยรวมของเราได้ด้วย การทำความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับเส้นผมและหนังศีรษะจะช่วยให้เราดูแลเส้นผมได้อย่างเหมาะสม ลดปัญหาผมร่วง หนังศีรษะมัน หรือรังแคที่อาจเกิดขึ้นได้

โครงสร้างของเส้นผม

เส้นผม(Hair shaft)

ประกอบไปด้วย เคราติน (Keratin) ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดเดียวกับที่พบในเล็บและผิวหนัง เส้นผมแต่ละเส้นมีโครงสร้างหลัก 3 ชั้น ได้แก่

  1. คิวติเคิล (Cuticle) – ชั้นนอกสุดของเส้นผม มีลักษณะเป็นเกล็ดซ้อนกัน ทำหน้าที่ปกป้องเนื้อในของเส้นผมจากความเสียหายจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น แสงแดด ความร้อน และสารเคมี โดยชั้นผิวนอกจะประกอบด้วยเกล็ดเล็ก ๆ ซ้อนทับกันเป็นแถวตามแนวยาวของเส้นผม หากเกล็ดเหล่านี้เปิดออกจะทำให้เส้นผมดูแห้งกร้าน ไม่เรียบลื่น
  2. คอร์เทกซ์ (Cortex) – ชั้นกลาง ประกอบด้วยเส้นใยโปรตีนเรียงตัวกันแบบอัดแน่น ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงและความยืดหยุ่นแก่เส้นผม และมีเม็ดสีเมลานินที่กำหนดสีของเส้นผม
  3. เมดุลลา (Medulla) – ชั้นในสุด  เป็นชั้นในสุดของเส้นผม มีลักษณะคล้ายท่อขนาดเล็กเรียงตัวกัน 3-4 ชั้น ซึ่งเกิดจากโปรตีนและไขมัน ส่วนมากจะพบในผมเส้นใหญ่ หรือผู้ที่มีสภาพผมแข็งแรง

รากผม(Hair root)

รากผม คือส่วนที่อยู่ใต้ผิวหนังศีรษะ ทำหน้าที่สร้างและผลิตเส้นผมใหม่ขึ้นมาแทนที่เส้นเก่าที่หลุดร่วงไป โดยโครงสร้างของรากผมจะประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ๆ ดังนี้

  1. ต่อมรากผม (Hair Follicle) เป็นช่องเล็ก ๆ ที่ลึกลงไปในชั้นหนังแท้ของศีรษะ ภายในต่อมจะประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเส้นผม
  2. กระเปาะผม (Hair Bulb) เป็นส่วนปลายของรากผมที่มีลักษณะเป็นก้อนกลมนูน ประกอบด้วยเมทริกซ์เซลล์ (Matrix Cells) ซึ่งเป็นเซลล์ต้นกำเนิดที่จะแบ่งตัวและเจริญเติบโตกลายเป็นเส้นผม

รากผมและวงจรชีวิตของเส้นผม

เส้นผมเจริญเติบโตจากรากผม (Hair Follicle) ที่ฝังอยู่ในหนังศีรษะ มีเส้นเลือดและต่อมไขมันคอยหล่อเลี้ยง วงจรชีวิตของเส้นผมแบ่งเป็น 3 ระยะหลัก ได้แก่

  1. ระยะเจริญเติบโต (Anagen Phase) – ช่วงที่เส้นผมงอกยาวอย่างต่อเนื่อง ใช้เวลานาน 2-7 ปี
  2. ระยะหยุดเจริญเติบโต (Catagen Phase) – ระยะเปลี่ยนผ่านที่เส้นผมหยุดการเจริญเติบโต กินเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์
  3. ระยะหลุดร่วง (Telogen Phase) – ช่วงที่เส้นผมเก่าหลุดออก และมีเส้นผมใหม่ขึ้นมาแทนที่ ใช้เวลาประมาณ 2-4 เดือน

หนังศีรษะและการทำงานของต่อมไขมัน

หนังศีรษะมีต่อมไขมัน (Sebaceous Gland) ทำหน้าที่ผลิตน้ำมันธรรมชาติที่ช่วยรักษาความชุ่มชื้นของเส้นผม หากต่อมไขมันทำงานผิดปกติอาจส่งผลให้หนังศีรษะมีปัญหา เช่น

  • หนังศีรษะมันเกินไป – อาจทำให้เกิดรังแค ผมลีบแบน และมีความเสี่ยงต่อการเกิดสิวที่หนังศีรษะ
  • หนังศีรษะแห้งเกินไป – ทำให้เกิดอาการคัน ลอกเป็นขุย หรือมีรังแคแห้ง
  • หนังศีรษะอักเสบ – อาจเกิดจากเชื้อรา ภูมิแพ้ หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม

ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะ

สุขภาพของเส้นผมและหนังศีรษะได้รับอิทธิพลจากหลายปัจจัย ได้แก่

  • โภชนาการ – การขาดสารอาหาร เช่น ธาตุเหล็ก โปรตีน ไบโอติน และโอเมก้า-3 อาจทำให้ผมร่วงหรือผมแห้งเสีย
  • ฮอร์โมน – ฮอร์โมนแอนโดรเจน (Androgen) มีผลต่อการหลุดร่วงของเส้นผม โดยเฉพาะในผู้ที่มีภาวะศีรษะล้านแบบพันธุกรรม, ฮอร์โมนเอสโตรเจน( Estrogen)ลดลง เช่น ภาวะวัยทอง
  • ความเครียด และการเจ็บป่วย– ส่งผลให้เส้นผมเข้าสู่ระยะหลุดร่วงเร็วกว่าปกติ
  • การใช้สารเคมีและความร้อน – การทำสี ดัด ยืด หรือใช้ความร้อนสูงบ่อย ๆ อาจทำให้เส้นผมแห้งเสียและเปราะขาด
  • การทำความสะอาด – การสระผมบ่อยเกินไปหรือใช้แชมพูที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้หนังศีรษะเสียสมดุล

การดูแลเส้นผมและหนังศีรษะอย่างถูกต้อง

เพื่อสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะที่ดี ควรปฏิบัติตามแนวทางดังนี้

  1. เลือกแชมพูและครีมนวดที่เหมาะสม – สำหรับผู้ที่มีปัญหาเส้นผมและหนังศีรษะ ควรเลือกแชมพูที่ปราศจากสารที่ก่อการระคายเคือง เช่น ปราศจากสารซัลเฟต(Sulfate-free), ปราศจากน้ำหอมสังเคราะห์(Synthetic perfume-free) ปราศจากสารกันเสียชนิดเคมี
  2. สระผมอย่างเหมาะสม – ตามสภาพของหนังศีรษะและกิจวัตรประจำวัน เช่น เหงื่อออกหรือถูกฝุ่นมากควรสระผมทุกวัน
  3. หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีบ่อยเกินไป – หากจำเป็นต้องทำสีผมหรือใช้สารเคมี ควรใช้ผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติที่ช่วยลดการระคายเคือง
  4. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ – ควรบริโภคอาหารที่มีโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุที่ช่วยบำรุงเส้นผม
  5. ดูแลสุขภาพโดยรวม – ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ และจัดการความเครียด

สรุป

เส้นผมและหนังศีรษะเป็นส่วนสำคัญที่ควรได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม การเข้าใจโครงสร้างและวงจรชีวิตของเส้นผม รวมถึงปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพหนังศีรษะ จะช่วยให้สามารถเลือกวิธีดูแลได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้เส้นผมแข็งแรง เงางาม และปราศจากปัญหาที่อาจเกิดขึ้น

หากคุณมีปัญหาผมร่วง ผมบาง หรือหนังศีรษะผิดปกติ ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำแนะนำและการรักษาที่เหมาะสม

Thinning Hair on Temporal area in Female

ภาษาไทย Article by Dr.Piyawat POOMSUWAN

Symptoms:

  • Thinning at the temporal area without complete baldness, revealing more forehead when hair is brushed back.
  • Hair gradually becomes thinner and finer.
  • Hair shafts appear more spaced apart but do not fall out completely.

Age:

  • Often occurs from the age of 35 and older.

Family History:

  • It is not necessary to have a family history, but it trends to have more severity in family history cases.

Lab:

  • Blood tests are usually normal, and there are no underlying health issues.

Cause:

  • This type of hair thinning is believed to be related to changes in female hormones, particularly estrogen. This differs from hereditary hair loss, which is linked to male hormones (androgens).

Scientific Findings:

  • Estrogen plays a role in hair growth.
  • Hair density decreases with age, peaking between the ages of 20–30 and declining thereafter.
  • Hair shafts become finer as estrogen levels drop.
  • The number of hair shafts significantly decreases after the age of 40.